เจ้าของโครงการสามารถผสมผสานสร้างความเป็นที่หนึ่งในการส่งมอบโครงการให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

How Owners Can Create a Winning Combination for Successful Project Delivery

   เราพบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของโครงการ คือการเข้าใจในหลักการสำคัญของข้อมูล และวิธีกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ดียิ่งขึ้น การทราบเป้าหมายของการนำข้อมูลไปใช้ และวิธีการเพื่อที่จะได้ข้อมูลนั้นมา คือขั้นแรกในการส่งมอบข้อมูลแบบดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดการจัดการและขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

       จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณได้กำหนดข้อมูลที่ต้องการเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ  ในขณะที่ข้อมูลที่อยู่ในมือ อาจมีเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของข้อมูลทั้งหมดที่จะเกิดเป็นข้อมูลทั้งหมดที่สมบูรณ์ที่เราต้องการ โดยอีกครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่จะต้องเก็บเพิ่มจะต้องถูกวางแผนการจัดการตั้งแต่แรก เพื่อให้สามารถทำการจัดการข้อมูลได้ (Information Management : IM) โดยต้องสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มคุณภาพของงานและเพิ่มมูลค่าของผลงาน  ไม่ว่าจะเป็นงานส่วนใดก็ตาม การมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงและเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสม่ำเสมอ จะสามารถแก้ไขความสับสนที่เกิดขึ้นในการทำงาน และเปิดโอกาสให้เจ้าของโครงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าของงานได้ด้วย เช่น งานบำรุงรักษา หรือจัดการส่วนอื่นๆ ได้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าที่เคยมี

 Common Data Environment CDE 2

 

การปรับข้อกำหนดข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานและข้อกำหนดที่มีอยู่

     มาตรฐานและข้อกำหนดของอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยระบุข้อกำหนดของข้อมูลตลอดวงจรของสินทรัพย์ ข้อกำหนดของข้อมูลอาจจะกำหนดได้โดยไม่ต้องใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือข้อกำหนดใดๆ เลยก็ตาม เช่นการสร้างวิธีการสื่อสารที่ใช้ในการทำงาน และก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร แม้ว่าจะมีการทำงานข้ามทีมหรือใช้ระบบและเครื่องมือที่แตกต่างกัน

     ที่พูดมาทั้งหมดก็เพื่อสรุปว่า ก็คือการมีเครื่องมือเดียวกัน ก่อให้เกิดวิธีการทำงานร่วมกันซึ่งจะเชื่อมโยงทีมงาน ขจัดข้อผิดพลาดในการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ป้องกันความผิดพลาดใดๆไม่ให้เกิดขึ้น  เนื่องจากทุกคนทำงานอยู่บนความเข้าใจที่ตรงกัน และการใช้กลยุทธ์ IM คือขั้นตอนสำคัญการเริ่มต้นทำงาน

     มาตรฐานและข้อกำหนดของอุตสาหกรรม นั่นก็คือ ISO 19650, CFIHOS, BIM4Water, Uniclass, ISO 55000, AWP, ISA, NAMUR และ DEXPI ทั้งหมดนี้คือแนวทางทั่วๆไปสำหรับทุกบริษัท เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการส่งมอบงานแบบดิจิทัลได้สำเร็จ มาตราฐานมีมากหมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ การเราจะเลือกเอามาตราฐานอะไรเพื่อให้เอามาใช้ได้อย่างเหมาะสมต่างหาก

    ตัวอย่างเช่น ISO 19650 ซึ่งเป็นมาตราฐานที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของ CDE ตั้งแต่วิธีการปฏิบัติงานเพื่อส่งมอบงานในทุกๆช่วงของโครงการ ไปจนถึงการจัดการวิธีการทำงาน มาตรฐานนี้ช่วยจัดเตรียมและระบุข้อกำหนดของข้อมูล สิ่งเหล่านี้มีส่วนในช่วยผลักดันให้เกิดการส่งข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ช่วยสรุปรายงานความคืบหน้าของโครงการ ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนในโครงการ ซึ่งรับรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะถูกส่งรวมกับระบบการทำงานกลางที่ตกลงกันไว้

 

ISO 19650 และ AWP: Data Maturity และ Project Lifecycle

     โดยทั่วไป การส่งมอบงานในแต่ละช่วงของการก่อสร้าง ก่อให้เกิดข้อมูลจำนวนมาก ไม่ใช่แค่ความปลอดภัยของข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่การดำเนินงานของในเรื่องของทรัพย์สินต้องมีประสิทธิภาพด้วย การทำความเข้าใจว่าข้อมูลใดที่สำคัญและอะไรที่เป็นใจความหลักที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการทำงานในแต่ละอย่างต่อการทำงาน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะพร้อมใช้งานในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดึงข้อมือไปกำหนดการดำเนินงานและการวางแผนได้

     สาระสำคัญของข้อมูล และข้อกำหนดด้านข้อมูล สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากไดอะแกรมของ ISO 19650  ซึ่งนโยบายขององค์กรในการใช้ข้อมูล และการกำหนดความต้องการข้อมูลในการบริหารทรัพย์สิน (OIR/AIR) เป็นพื้นฐานของสิ่งที่โครงการควรมีในการส่งมอบแบบดิจิทัล เช่น ข้อกำหนดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ( Exchange Information Requirements : EIR)

 

Project Req

 

     สิ่งสำคัญต่อมา ต้องเข้าใจว่าข้อมูลเหล่านี้เพิ่มขึ้นและอัพเดทอยู่เรื่อยๆในการส่งต่องานในแต่ละช่วง ต้องมีตัวช่วยหลักสำคัญของโครงการหรือ มีศูนย์กลางในการปฎิบัติงานทำงานร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ระยะการดำเนินการโครงการ อย่างการทำคอมมิชชั่นนิ่งที่โครงการส่วนใหญ่มักเริ่มต้นเร็วเกินไป ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของข้อมูล และข้อมูลที่ต้องการเพื่อทำงานยังไม่เพียงพอ หรืออาจจะเกิดการเพิ่มข้อมูลซ้ำซ้อน หรือข้อมูลเดิมๆที่ถูกสร้างจากคนละทีม เกิดเป็นข้อมูลเกินที่ส่งต่อการเพิ่มต้นทุน และยังกระทบต่อกำหนดตารางงานอีกด้วย

     ในหัวข้อนี้มีอธิบายไว้ใน ISO 19650 ทั้งในระดับความต้องการข้อมูลและมาตรฐาน AWP ที่กำลังปรับแก้อยู่ ทั้งสองมาตราฐานได้มีการกำหนดข้อกำหนดด้านข้อมูลในแต่ละช่วงงานของโครงการ อย่างที่  ISO 19650 ทำ  AWP  ก็คืออีกมาตราฐานที่ช่วยสร้างชุดของข้อกำหนดด้านข้อมูลทั่วไปและวิธีการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นมาตรฐานในโครงการและระบุไว้ในสัญญา การจัดการข้อกำหนดด้านข้อมูลนี้มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความท้าทายที่เราต้องเจอก็คือ เมื่อระบบหลายระบบและหลากหลายเข้ามาทำงานเกี่ยวข้องกันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

     ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่อาจมาจากระบบและองค์กรต่างๆ มากมาย อาจมีค่าใช้จ่ายสูงหากข้อมูลนี้มีการจัดเตรียมไว้หลากหลายรูปแบบและหลากหลายโครงสร้างมากเกินไป ความแตกต่างนี้ทำให้ต้องมีการจัดการที่แตกต่างกัน และนั่นก็มาพร้อมกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ความโปร่งใสของที่มาข้อมูล และความแม่นยำในการจัดเก็บข้อมูล คือเหตุที่สำคัญที่นำไปสู่การนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

     การทำงานร่วมกันระหว่าง Datum360 และ Autodesk พัฒนามาเพื่อทำงานอยู่บนความท้าทายนี้โดยตรง โดยการออกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การทำงานร่วมกัน และสภาพแวดล้อมในการส่งมอบแบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยข้อกำหนดที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถนำเข้าข้อมูล รูปแบบข้อมูลและรูปแบบเอกสารได้หลากหลาย เพื่อการประมวลผลในการตรวจสอบร่วมกับข้อกำหนดข้อมูลตาม ที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับมาตราฐาน ISO 19650 และมาตราฐาน  AWP

ความเชื่อถือในการทำงานระหว่างกัน เกิดจากการควบคุมวิธีการทำงานที่ชัดเจน

    เมื่อกำหนดว่าอะไรคือข้อมูลจำเป็น ข้อมูลเหล่านั้นใครคือผู้ส่ง และข้อกำหนดอย่างไร ขั้นตอนต่อไปคือการมีกระบวนการดำเนินการทำงาน ซึ่งต้องมีตัวชี้วัดความคืบหน้าของงาน โดยเทียบกับเกณฑ์ต่างๆ คือส่วนสำคัญที่ใช้ในการวางแผนและการจัดการสำหรับตารางงานที่ยุ่งยากซับซ้อนของการส่งผ่านโครงการในแต่ละช่วง เครื่องมือที่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนสมารถตรวจสอบได้ก็คือ องค์ประกอบสำคัญในการสร้างความไว้วางใจของข้อมูลที่เกิดขึ้น

 

Dashboard

 

       มีกิจกรรมที่ต้องทำงานเชื่อมกันมากมายระหว่างการส่งต่องานในแต่ละช่วง และการดำเนินงานในแต่ละชั้นตอนนั้นก็ขึ้นอยู่กับการส่งข้อมูลแต่ละประเภท ความสามารถในการสร้ารูปแบบประเมินความสมบูรณ์ของข้อมูลได้อย่างแม่นยำ ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้อง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของความต้องการ กำหนดรูปแบบการทำงานในแต่ละบริบทที่แตกต่างกัน จะช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนเมื่อถูกวางแผนงานและเริ่มปฏิบัติงาน

      การทำงานของ Supplier คือตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นอย่างดี โดยทั่วไปแล้ว Supplier มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาของให้ตรงตามกำหนดเวลา โดยคุณสามารถติดตามความคืบหน้า และรับทราบสถานะในการทำงานของ Supplier ได้อีกด้วย ว่าทาง Supplier กำลังดำเนินการในขั้นตอนไหนแล้ว

      โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลที่จำเป็น ที่จะช่วยให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆเดินหน้าต่อไปได้ อย่างเช่น การทดสอบการทำงานของระบบต่างๆ และเมื่อเริ่มใช้อาคาร นอกจากนี้ยังรวมถึงเรื่องของคุณภาพและความครบถ้วนของข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ หมายความว่า ประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกเอาไว้ และง่ายต่อการเรียกกลับมาใหม่ได้ตลอดเวลา  

     ไม่ว่าเราจะต้องการอ้างอิงเพื่อสรุปผลในการดำเนินงานในขั้นตอนไหนก็ตาม  ความสามารถในรายงานสถานะงาน และแสดงภาพเป็กราฟฟิกที่ชัดเจน คือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเส้นทางส่ความสำเร็จของโครงการ

 

เริ่มต้นการส่งมอบข้อมูลแบบดิจิทัล

    ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมใดก็ตาม เมื่อพูดถึงการส่งมอบข้อมูลแบบดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีการกำหนดวิธีการทำงานที่ชัดเจน  หากจะนำมาใช้ก็จะต้องได้ประโยชน์เป็นส่วนสำคัญต่อแนวทางการทำงานและดำเนินงานในโครงการได้ด้วย

โดยมีหลักการดังนี้

  • มีข้อกำหนดที่ชัดเจน

  • ใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลาง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน

  • แหล่งข้อมูลที่ชัดเจน และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

  • ระบบติดตาม แจ้งเตือน และจัดการงานตามแผน ทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และถูกต้องสมบูรณ์

 

การทำงานร่วมกันระหว่าง Datum360 และ Autodesk Construction Cloud ตอบโจทย์หลักการเหล่านี้

     ด้วยความร่วมมือระหว่างสองโซลูชัน เราส่งต่อข้อมูลโดยทั่วไปและเชื่อมโยงข้อมูลส่วนต่างๆในพื้นที่สภาพแวดล้อมของการจัดเก็บข้อมูลเดียวกัน ซึ่งรองรับข้อกำหนดในการทำงาน ซึ่งความเฉพาะแตกต่างในแต่ละส่วน โดยเฉพาะการส่งงานในสภาพแวดล้อมเพียงแห่งเดียว คือการเข้าถึงข้อมูล การสร้างเอกสาร และจัดการข้อมูลสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของโครงการ

     เรียนรู้เพิ่มเติมกับวิธีที่เครื่องมือของเราสามารถทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลแบบ Common Data Environment (CDE) พร้อมรับมือกับความท้าทายในการทำงานเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้อมูล เพื่อการส่งมอบโครงการได้อย่างประสบความสำเร็จ

 Common Data Environment CDE 3

 

Reference: https://constructionblog.autodesk.com/data-ownership-project-delivery/


ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ 085-323-5453, 02-692-2575 หรือทาง Online Store ทางเรายินดีให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ

AEC Product for bento

บทความที่เกี่ยวข้อง

Autodesk Gold Partner

บริษัท ซินเนอร์จี้ซอฟต์ โซลูชั่น จำกัด

135/58 อาคารอมรพันธ์ 205 ทาวเวอร์ 2 ชั้น 19 ซอยรัชดาภิเษก 7  ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400

โทรศัพท์ , แฟกซ์ : 02-692-2575

ติดต่อสอบถาม


LINE official account : @synergysoft

อีเมล (E-mail) : sales@synergysoft

ฝ่ายขาย : 085-323-5453

RELATED LINK


Synergysoft Education Center
Autodesk Authorized Training Center
ศูนย์อบรมการใช้โปรแกรมออกแบบและทดสอบอย่างเป็นทางการจากออโตเดสก์

Synergysoft Online Store
ร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ ชำระด้วยบัตรเครดิตได้

Luvicha
เว็บออนไลน์เทรนนิ่ง เรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง ได้ทุกที่ ทุกเวลา

Revit Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Revit และ BIM ของ Autodesk

Autodesk Inventor Society Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Autodesk Inventor และโปรแกรมออกแบบอุตสาหกรรมของ Autodesk

Autodesk Fusion360 Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Autodesk Fusion360 ในไทย

Synergysoft Education Center fanpage
อัพเดตข่าวสารการอบรม ตารางการอบรมต่างๆ ผ่าน ซินเนอร์จี้ซอฟต์ เอ็ดดูเคชั่น เซนเตอร์ แฟนเพจ

Unity3D Technology Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Unity3D ด้านงานสถาปัตยกรรมในไทย

Synergysoft Support Portal

บริการหลังการขาย แก้ไขปัญหาต่างๆ จากการใช้โปรแกรม

ร่วมงานกับเรา

Privacy Policy

Copyright 2024 © All Rights Reserved by Synergysoft