Workstation หรือ PC ออฟฟิศคุณควรใช้แบบไหน ?
Workstation หรือ PC ออฟฟิศคุณควรใช้แบบไหน? หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์เลือกซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะซื้อตามความพอใจของแต่ละคนเป็นหลัก (บางครั้งอาจจะใช้ความสวยงามเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการตัดสินใจด้วย) แต่เมื่อเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับออกแบบในออฟฟิศหรือที่ทำงาน ที่ต้องใช้องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกที่แตกต่างออกไป เช่น การบำรุงรักษา อายุการใช้งาน ความยากง่ายในการจัดหา จะต้องทำอย่างไรให้เงินที่จ่ายออกไปคุ้มค่ากับบริษัทมากที่สุด ตัวเลือกที่กว้างที่สุดมีเพียงแค่ พีซีธรรมดา และเวิร์คสเตชั่น แต่การจ่ายเงินที่เพิ่มขึ้นให้กับเวิร์คสเตชั่นนั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ในระยะยาว ลองอ่านบทความนี้ดูเผื่อจะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้
PC กับ Workstation แตกต่างกันอย่างไร
- ราคา คอมพิวเตอร์พีซีส่วนใหญ่ที่พอใช้งานด้านการออกแบบได้ ราคามักจะเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ถึง 40,000 บาท ในขณะที่เวิร์คสเตชั่นราคามักจะเริ่มต้นที่ื 45,000 บาท จนถึงราคา 300,000 บาทได้ ในกรณีที่เป็น High-end Workstation
- ประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์พีซีมีความสามารถเพียงพอในการทำงานด้านรับส่งอีเมล เล่นเว็บไซต์ หรือพิมพ์งาน แต่เวิร์คสเตชั่นทำได้มากกว่านั้น เช่น สามารถทำงาน (CAD) แอนิเมชั่น การวิเคราะห์ข้อมูล และเรนเดอร์ภาพเสมือนจริง หรือการทำงานตัดต่อภาพยนตร์ เป็นต้น
- ความทนทาน ส่วนประกอบภายในของเวิร์คสเตชั่นจะมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน (ทำให้มาตรฐานสูงกว่าพีซีไปโดยปริยาย) ส่วนประกอบต่างๆ เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ การ์ดวิดีโอ และอื่นๆ จะถูกออกแบบเพื่อตอบสนองการทำงานที่หนักหน่วงต่อเนื่อง มีงานบางประเภทที่ต้องเปิดเครื่องทำงานไว้ข้ามคืน หลายคืนๆ เช่น งานเรนเดอร์การ์ตูนอนิเมชั่น เครื่องยังจะทำงานอยู่เกิน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ทำงานกลับบ้านไปแล้ว
- ECC RAM Error-correcting code memory หน่วยความจำแก้ไขความผิดพลาดระบบ ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ถูกต้องมากขึ้น หน่วยความจำนี้จะแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะทำให้ระบบเสียหาย ป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสีย
- Multiple Processor Cores รองรับระบบประมวลผลหลายแกน การมีหลายแกนแปลว่ามีความสามารถในการประมวลผลมากขึ้น (แต่ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน) ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ด้วยว่า ซอฟต์แวร์ที่ใช้รับรอง Multiple Processor Cores หรือไม่
- RAID (Redundant Array of Independent Disks) เป็นความสามารถในการต่อฮาร์ดดิสก์เพื่อเก็บข้อมูลหรือกระบวนการใช้และบันทึกข้อมูล RAID มีหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของแต่ละระบบ เช่น RAID 0 จะกระจายข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์คู่ขนาน ข้อดีคือสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่หากฮาร์ดดิสกืลูกใดเสียก็จะเป็นปัญหาทั้งระบบ หรือ RAID 1 เป็นการสร้างฮาร์ดดิสก์สำรองไว้ หรือที่เรียกว่า Disk Mirroring นอกจากนี้ยังมี RAID เยอะมาก เช่น RAID2, RAID3... ซึ่งควรหาข้อมูลเพิ่มเติม
- SSD (Solid State Drives) เป็นการเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีส่วนใดเคลื่อนที่ ซึ่งจะต่างจากฮาร์ดดิสก์ที่จานเก็บข้อมูลจะหมุนตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงกับข้อมูลได้มากกว่า ข้อดีคือมีขนาดเล้ก เสียหายได้ยาก และมีการทำงานที่เร็วกว่า แต่มีราคาแพง
- Optimized GPU GPU (Graphics Processing Unit) การมี GPU ที่เร็ว จะทำให้ภาระไปตกที่ CPU น้อยลง ผลที่ได้คือสามารถแสดงภาพได้เร็วขึ้น และในบางกรณี GPU ยังสามารถรับงานจาก CPU มาประมวลผลแทน ทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้นไปหมด การ์ดจอที่ GPU สูง ก็จะมีราคาสูงด้วยเช่นกัน
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่