การพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างในยุคดิจิตอล

Digital 01

เมื่อโครงการต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และบริษัทเองก็มีความคาดหวังที่จะส่งงานได้รวดเร็วขึ้น ภายในงบประมาณที่จำกัด เทคโนโลยีก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในกระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง ด้วยการทำให้กระบวนการทำงานมีความง่ายขึ้นและประสานการแก้ไขปัญหาที่ว่องไวยิ่งขึ้น เข้าไปช่วยในขั้นตอนการทำงานของเรา ทำให้ค่าใช้จ่ายเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการที่มีความซับซ้อนถูกลดลงไปด้วย หากลองมองดูแล้ว จะพบว่า เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด

       สนามบินนานาชาติซานฟรานซิสโก (San Francisco International Airport: SFO) เป็นศูนย์กลางทางการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ซึ่งเราสามารถพบได้กับความต้องการของเหล่านักเดินทางรุ่นใหม่ รวมถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้มาเยือน สนามบิน SFO แห่งนี้ ได้ทำการปรับปรุงอาคาร Terminal 1 หนึ่งในอาคารผู้โดยสารที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด ซึ่ง T1 ถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 และเมื่อเวลาผ่านไป สถานที่แห่งนี้ก็ไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้โดยสารกว่าล้านคนในแต่ละปีได้อีกต่อไป


SFO BAB PIER ARRIVAL 790px

ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design

เมื่อการก่อสร้างเสร็จแล้วในปี ค.ศ.2022 อาคาร T1 จะยกระดับมาตรฐานการจัดการของ SFO เทียบเท่าระดับ World-class พร้อมกับสร้างประสบการณ์การเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความคาดหวังที่จะคว้ารางวัลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาให้ได้ และนี่คือโครงการปรับปรุงที่ใช้ระยะเวลา 6 ปี มูลค่าการก่อสร้างกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือได้ว่าเป็นการลงทุนด้านสนามบินครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ส่วนสำคัญของโครงการนี้ คือ การก่อสร้าง Boarding Area ใหม่ สำหรับรองรับผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง เป็นพื้นที่รวมกว่า 500,000 ตารางฟุต เมื่อแล้วเสร็จนั้น Boarding Area B (BAB) จะประกอบไปด้วย Gate ทั้งหมด 25 จุด โดยในนั้นเป็น  Swing Gate ถึง 7 จุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศสามารถไปยังพื้นที่ของด่านศุลกากรและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้โดยตรง นอกจากนี้ภายในอาคารผู้โดยสารยังมีจุดศูนย์รวมการควบคุมความปลอดภัยจุดใหม่ ระบบควบคุมสัมภาระที่ล้ำสมัย พื้นที่ร้านค้าและร้านอาหาร รวมไปถึงทางเดินเชื่อมต่อหลังจุดควบคุมความปลอดภัยต่าง ๆ

สนามบินแห่งนี้ต้องการยกระดับการบริการให้ดียิ่งขึ้นเทียบเท่าระดับ World-class และเป็นโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังจะได้รับรางวัล LEED ระดับ Gold แต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้นั้น จึงต้องมีการขจัดรูปแบบอาคารแบบเดิมทิ้งไป พร้อมกับปรับปรุงขึ้นมาใหม่จากส่วนเหล่านั้นอีกครั้ง

" เป้าหมายในครั้งนี้ คือการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารทั้งหลัง โดยที่ไม่ต้องปิดทำการ "

End of SF Terminal 1 Pier

ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/

สร้างทีมผู้ออกแบบ

 การออกแบบโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มบริษัทจากนานาชาติ ทั้ง HKS, Woods Bagot และองค์กรธุรกิจท้องถิ่นที่เป็นหุ้นส่วนกับ ED2 International รวมไปถึง Kendall Young Associates (KYA) ที่สามารถนำพรสวรรค์ทางการออกแบบถ่ายทอดออกมาสู่ Project สำคัญอย่าง Boarding Area B ที่มี gate ถึง 25 จุด นอกจากนั้นยังได้ TSAO Design Group มาช่วยในเบื้องต้นและเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านการออกแบบ

โดยตัวโครงการ เป็นโครงการที่มีความซับซ้อนทางด้านการออกแบบและก่อสร้างเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากผู้ร่วมออกแบบที่มากมาย ทั้ง HKS | Woods Bagot | ED2 | KYA และจะส่งต่อการออกแบบไปยัง Austin Webcor JV ที่ร่วมมือกันระหว่าง Austin Commercial และ Webcor Builders ที่จะเข้ามาช่วยรับหน้านี่ในด้านการจัดการงานออกแบบโครงการและขั้นตอนการก่อสร้าง

โครงการนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสนามบินและหน่วยงานภาครัฐที่บริหารเมืองซานฟรานซิสโก โดยสิ่งสำคัญที่ทีมผู้ออกแบบเล็งเห็นคือ การรวมเอาความต้องการหลักจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ตั้งแต่วิธีการค้นหาความต้องการส่งต่อไปยังฝ่ายดูแลงานศิลป์ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ความต้องการด้านการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้คือการออกแบบขั้นสูงสุดเพื่อประสบการณ์ของแขกผู้มาเยือนที่ซึ่งทาง SFO รู้จักดี

สู่การพัฒนามุมมองในการออกแบบ

การพัฒนามุมมองในการออกแบบที่เกิดจากความร่วมมือกันภายในโครงการนี้ ทางทีมผู้ออกแบบและตัวแทนจากสนามบินได้ร่วมกันทำ Workshop และนำข้อมูลดังกล่าวจากผู้เกี่ยวข้องมาจัดอันดับหาผลสรุป โดยสิ่งที่ที่ผู้ออกแบบค้นพบจาก Workshop ในครั้งนี้ คือ พวกเขาต่างเห็นถึงภาพของอาคารผู้โดยสารที่ให้อารมณ์ความรู้สึกอันสื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองซานฟรานซิสโก เฉกเช่นเดียวกับที่ชาวเมืองรู้สึก ซึ่งจะตราตรึงความงดงามของการเดินทางไว้ให้กับผู้ที่ได้มาเยือน

ด้วยแนวคิด “Bay Area Naturalism” ทางทีมผู้ออกแบบ จึงได้ค้นหาวิธีที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเอนกประสงค์ไปด้วย ซึ่งจะต้องสามารถรองรับให้เพียงพอกับจำนวนของผู้โดยสารที่จะมีมากขึ้นในอนาคตได้ จากที่ Carsten Voecker ผู้บริหารของ Woods Bagot กล่าวไว้ว่า “ อาคาร Terminal 1 จะมีความคึกคักมากขึ้นไปอีก จากจำนวนผู้โดยสารราว 7 ล้านคนต่อปีที่เข้ามาใช้งาน และผู้โดยสารเหล่านี้ก็จะค้นหาสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมและเข้ากันกับความต้องการส่วนตัวของพวกเค้า ” 

จากความร่วมมือข้างต้นที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการนำพาทุกคนไปสู่ความสำเร็จของโครงการนี้ได้ ถูกเริ่มต้นขึ้นด้วยการก่อสร้างห้องขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Big Room” ที่มีพื้นที่ราว 33,000 ตารางฟุต โดยสร้างขึ้นในบริเวณพื้นที่รอบนอกของสนามบิน เพื่อเป็นพื้นที่ไว้ให้สำหรับทีมงานผู้ออกแบบ วิศวกร ผู้รับเหมา รวมกันกว่า 200 ชีวิตที่จะมาร่วมมือกันและประสานการทำงานกันในทุกขั้นตอนของโครงการนับจากนี้

BigRoom Woods Bagot SFO Redesign790px

ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/

 ผสานเทคโนโลยีด้านการออกแบบ

การประสานงานระหว่างบริษัทต่าง ๆ ภายในโครงการสนามบินนานาชาติแห่งนี้ ถือได้ว่ามีความยากไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงกลุ่มตัวแทนที่ร่วมในการออกแบบ-ก่อสร้าง หรือแม้แต่ส่วนงานอื่น ๆ ที่ดำเนินงานของตนเองเพื่อให้สนามบินเปิดทำการได้ตามปกติในทุก ๆ วัน ซึ่งก็ไม่มีหน้าที่ไหนเลยที่ดูเป็นเรื่องง่าย

Pardis Mirmalek หัวหน้าของฝ่ายเทคโนโลยีด้านการออกแบบของ Woods Bagot ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการผสานขอบข่ายงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนกันระหว่างรูปแบบของการออกแบบที่หลากหลายกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มากมายในโครงการ

Crystal Barriscale จาก HKS Architects อธิบายเพิ่มเติมว่า “มันเป็นทีมงานที่ค่อนข้างจะมีความซับซ้อนเพราะเราต้องการเครื่องมือที่เหมาะสมในด้านต่างๆเข้ามาใช้ในการทำงานบน Platform ซึ่งพวกเราจะอัพเดทซึ่งกันและกัน และยังสามารถเก็บบันทึกความเป็นไปของตัวโครงการได้ด้วย โดยในตอนแรกที่พวกเราได้ริเริ่มโครงการนั้น ความท้าทายหลักอย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญเลย คือ เราจะมีวิธีไหนที่จะสามารถทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาที่มีไม่น้อยกว่า 24 ทีม รวมถึงผู้ก่อสร้างที่เป็นทีมขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่น”

การจัดการกับความซับซ้อนของตัวโครงการนั้น ทางทีมงานได้เลือกสรรเทคโนโลยีที่ช่วยในการออกแบบใหม่ล่าสุดมาช่วยในการทำงาน ซึ่งนั่นก็รวมถึง BIM 360 Design (หรือเดิมทีคือ Collaboration for Revit: C4R) โดยได้นำมาใช้อย่างครอบคลุมในการประสานงานกับทุก ๆ ส่วนงาน ซึ่งมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ปรึกษา ฝ่ายผู้รับเหมา รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย

การประสานงานกันผ่านระบบ Cloud สามารถทำให้ผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจตรงกัน อย่างที่ William Wallace สถาปนิกโครงการ Woods Bagot กล่าวไว้ว่า “ มันช่วยเราในการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างบริษัททั้งสี่แห่งที่มาร่วมกันออกแบบ ด้วย Model เพียงหนึ่งเดียวบนระบบ Cloud ”

04 790px

ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/

นอกเหนือไปจากการทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้รับเหมาเห็นภาพความเข้าใจร่วมกันได้แล้วนั้น การประสานงานกันผ่านระบบ Cloud ยังมีส่วนช่วยทีมผู้ออกแบบจากบริษัทต่าง ๆ โดยการถ่ายโอน (Synchronize) ข้อมูลจากสตูดิโอที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเดิมทีนั้นปัญหาด้านภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่สร้างอุปสรรคในขั้นตอนการประสานงานการออกแบบอยู่เสมอมา แต่ด้วย Model ที่อยู่บน Cloud-Base ทำให้เสมือนว่าได้ทำงานร่วมกันอยู่ในห้องขนาดใหญ่ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง

Pardis Mirmalek กล่าวว่า “ โครงการที่มีความซับซ้อนในระดับนี้ต้องการบุคคลที่มีความสามารถจากทั่วทุกมุมโลกมาทำงานร่วมกัน ซึ่งเรามีสมาชิกในทีมที่ทำงานร่วมกันจากเมืองต่าง ๆ ทั้งซานฟรานซิสโก, นิวยอร์ค, เมลเบิร์น, นิวเดลี และดูไบ โดยที่พวกเราได้เห็น Model ที่อัพเดทการออกแบบล่าสุดเสมอ ”

Design Technology 01 01

ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/

วิสัยทัศน์สำหรับอนาคต

เมื่อโครงการต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และบริษัทเองก็มีความคาดหวังที่จะส่งงานได้รวดเร็วขึ้น ภายในงบประมาณที่จำกัด เทคโนโลยีก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในกระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง ด้วยการทำให้กระบวนการทำงานมีความง่ายขึ้นและประสานการแก้ไขปัญหาที่ว่องไวยิ่งขึ้นเข้าไปช่วยในขั้นตอนการทำงานของเรา ทำให้ค่าใช้จ่ายเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการที่มีความซับซ้อนถูกลดลงไปด้วย หากลองมองดูแล้ว จะพบว่า เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง Carsten Voecker ได้สรุปไว้ว่า

“โครงการต่าง ๆ ล้วนมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นั่นก็ยิ่งทำให้มาตรฐานที่ถูกคาดหวังไว้ก็สูงขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น ผมจึงหวังให้อนาคตอันใกล้ข้างหน้านี้ เราจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นในวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งจะกลายเป็นช่วงเวลาที่พวกเราไม่ต้องใช้กระดาษในการเจรจางานกันอีกต่อไป แล้วเราก็จะก้าวข้ามไปอยู่ในจุดที่ทั้งกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นออกแบบ ไปยังช่วงทำแบบก่อสร้าง จนถึงขั้นตอนการก่อสร้างของผู้รับเหมา จะถูกจัดการด้วยระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ”

Digitals 01


ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ 085-323-5453, 02-692-2575 หรือทาง Online Store ทางเรายินดีให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ 

AEC Product for bento

บทความที่เกี่ยวข้อง

Autodesk Gold Partner

บริษัท ซินเนอร์จี้ซอฟต์ โซลูชั่น จำกัด

135/58 อาคารอมรพันธ์ 205 ทาวเวอร์ 2 ชั้น 19 ซอยรัชดาภิเษก 7  ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400

โทรศัพท์ , แฟกซ์ : 02-692-2575

ติดต่อสอบถาม


LINE official account : @synergysoft

อีเมล (E-mail) : sales@synergysoft

ฝ่ายขาย : 085-323-5453

RELATED LINK


Synergysoft Education Center
Autodesk Authorized Training Center
ศูนย์อบรมการใช้โปรแกรมออกแบบและทดสอบอย่างเป็นทางการจากออโตเดสก์

Synergysoft Online Store
ร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ ชำระด้วยบัตรเครดิตได้

Luvicha
เว็บออนไลน์เทรนนิ่ง เรียนรู้ได้ 24 ชั่วโมง ได้ทุกที่ ทุกเวลา

Revit Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Revit และ BIM ของ Autodesk

Autodesk Inventor Society Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Autodesk Inventor และโปรแกรมออกแบบอุตสาหกรรมของ Autodesk

Autodesk Fusion360 Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Autodesk Fusion360 ในไทย

Synergysoft Education Center fanpage
อัพเดตข่าวสารการอบรม ตารางการอบรมต่างๆ ผ่าน ซินเนอร์จี้ซอฟต์ เอ็ดดูเคชั่น เซนเตอร์ แฟนเพจ

Unity3D Technology Thailand Fanpage
ชุมชนผู้ใช้โปรแกรม Unity3D ด้านงานสถาปัตยกรรมในไทย

Synergysoft Support Portal

บริการหลังการขาย แก้ไขปัญหาต่างๆ จากการใช้โปรแกรม

ร่วมงานกับเรา

Privacy Policy

Copyright 2024 © All Rights Reserved by Synergysoft